เมนู

คาถาที่ 28


คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตต-
พรหมทัต
ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่สงคราม ทรงปราชัยแล้วไม่เสด็จกลับ หรือ
ทรงปรารภพระราชกิจอย่างอื่นยังไม่สำเร็จ ก็ไม่เสด็จกลับ เพราะฉะนั้น ชน
ทั้งหลายจึงเรียกพระองค์อย่างนั้น ในวันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน
ก็โดยสมัยนั้น ไฟป่าได้ลุกไหม้ ไฟนั้นไหม้ไม้แห้ง และวัตถุมีหญ้าเป็นต้น
ที่ตกหล่น ลามไปไม่หวนกลับ พระราชาทรงเห็นไฟนั้นแล้ว ทรงยังนิมิตอัน
เปรียบด้วยไฟนั้นให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ 11 อย่าง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ไหม้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไปไม่หวนกลับ ก่อทุกข์ใหญ่ให้เกิดขึ้น ชื่อในกาลไหน
หนอ แม้เราเพื่อไม่ให้ทุกข์นี้หวนกลับ พึงเผาไหม้กิเลสทั้งหลาย ด้วยไฟ
คือ อริยมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไปไม่หวนกลับ.
แต่นั้น พระองค์เสด็จไปสักครู่ ทรงเห็นชาวประมงทั้งหลายกำลังจับ
ปลาในแม่น้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งติดข่ายของชาวประมงเหล่านั้น ได้ทำลายข่าย
หนีไป ชาวประมงเหล่านั้นร้องว่า ปลาทำลายข่ายหนีไปแล้ว พระราชาทรง
ฟังคำแม้นั้น จึงยังนิมิตอันเปรียบเทียบด้วยปลานั้นให้เกิดขึ้นว่า ชื่อในกาล
ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่าย คือ ตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอริยมรรคญาณไป
ไม่ติดขัด ดังนี้ พระราชานั้นทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว ปรารภ
วิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และตรัสอุทานคาถานี้ว่า
สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ
ชาลํ ว เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี
อคฺคี ว ทฑฺฒํ อนิวตฺตมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เหมือนปลาทำลายข่ายหนีไป เหมือนไฟไม่
หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
ในบทที่ 2 แห่งคาถานั้น วัตถุที่สำเร็จด้วยด้ายเรียกว่า ชาลํ ข่าย.
น้ำ เรียกว่า อัมพุ. ซึ่งว่า อัมพุจารี ปลา เพราะอรรถว่า ว่ายไปในน้ำนั้น.
คำว่า อัมพุจารี นั้นเป็นชื่อของปลา ปลาที่ว่ายไปในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี.
มีอธิบายว่า ดุจปลาทำลายข่ายในน้ำแห่งนทีนั้น.
ในบาทที่ 3 สถานที่ถูกไฟไหม้ เรียกว่า ทฑฺฒํ แปลว่าที่ไหม้แล้ว.
มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับไปสู่สถานที่ไหม้แล้ว คือ ไม่มาในที่ไหม้แล้ว
นั้นโดยแท้ฉันใด บุคคลไม่กลับสู่ที่แห่งกามคุณที่ไฟ คือ มรรคญาณไหม้แล้ว
คือไม่มาในที่แห่งกามคุณนั้นโดยแท้ ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั้น
แล.
สันทาลนคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 29


คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้ อุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลล-
พรหมทัต
ทรงโปรดการดูนักฟ้อน เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต. ส่วน
ความแปลกกัน ดังนี้ :-
พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตทรงไม่พอพระราชหฤทัยแล้ว เสด็จไป ณ
ที่นั้น ๆ พระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตนี้ ทรงเห็นนักฟ้อนนั้น ๆ แล้ว ทรง